💖 อนุโลมเทศนา
- เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี
- เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
- เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
- เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
- เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
- เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
- เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
- เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
- เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
- เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
- เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
- ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
ลำดับแห่งปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับทุกข์
ความทุกข์ จะดับไปได้เพราะ ชาติ
(การเกิดอัตตา"ตัวตน"คิดว่าตนเป็นอะไรอยู่) ดับ
ชาติ จะดับไปได้เพราะ ภพ
(การมีภาระหน้าที่และภาวะทางใจ) ดับ
ภพ จะดับไปได้เพราะ อุปาทาน (ความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ) ดับ
อุปาทาน จะดับไปได้เพราะ ตัณหา (ความอยาก) ดับ
ตัณหา จะดับไปได้เพราะ เวทนา (ความรู้สึกทุกข์หรือสุขหรือเฉยๆ) ดับ
เวทนา จะดับไปได้เพราะ ผัสสะ (การสัมผัส) ดับ
ผัสสะ จะดับไปได้เพราะ สฬายตนะ (อายตนะใน๖+นอก๖) ดับ
สฬายตนะ จะดับไปได้เพราะ นามรูป (รูปขันธ์) ดับ
นามรูป จะดับไปได้เพราะ วิญญาณ (วิญญาณขันธ์) ดับ
วิญญาณ จะดับไปได้เพราะ สังขาร (อารมณ์ปรุงแต่งวิญญาณ-เจตสิก) ดับ
สังขาร จะดับไปได้เพราะ อวิชชา (ความไม่รู้อย่างแจ่มแจ้ง) ดับ
รายละเอียด
ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้[3]
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4
สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า การเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ และการประพฤติผิดในกาม
สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ
สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง ฌาน 4
ในจูฬเวทัลลสูตร พระพุทธเจ้าทรงจัดสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เข้าในสีลขันธ์ ทรงจัดสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ทรงจัดเข้าในสมาธิขันธ์ และทรงจัดสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เข้าในเป็นปัญญาขันธ์[4]