😨😊🙄 มะเร็งต่อมลูกหมากของวิวัฒน์
การวินิจฉัย : 11 พฤษภาคม 2563
พบ
PSA = 31 และ
Gleason score = 6 และ
Clinical stage T2b
พบ
PSA = 31 และ
Gleason score = 6 และ
Clinical stage T2b
ต่อมลูกหมาก : อยู่บริเวณรอบท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ และ PSA : Prostate Specific Antigen เป็นสารที่ทำให้น้ำอสุจิไม่เกาะกันเป็นก้อนเหนียวข้น, เซลล์มะเร็งจะทำลายเยื่อบุผิวของต่อมลูกหมากจึงทำให้สาร PSA รั่วเข้าสู่กระแสเลือดได้มากขึ้น, จึงใช้เป็นตัวบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากได้ตัวหนึ่ง
🤔🤔 คนในเมืองจะพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะ 1-2 มากกว่า ส่วนคนในชนบทมักจะตรวจเจอระยะลุกลามมากกว่า อาจเป็นเพราะคนในเมืองให้ความสนใจกับการตรวจสุขภาพมากกว่า
😊😊เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการตรวจ
คัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากอย่างจริงจัง ดังนั้นจึงพบมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลาม
หรือระยะแพร่กระจายเป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศทางตะวันตก
สำหรับวิธีรักษา :
จะขึ้นอยู่กับระยะของโรค คือถ้าพบว่าเป็นระยะที่1-2 จะสามารถผ่าตัดหรือฉายรังสีให้หายขาดได้ ถ้าเป็นระยะที่ 3 แล้วการผ่าตัดและการฉายแสงจะช่วยให้หายขาดได้เพียง 50% เท่านั้น และถ้าอยู่ในระยะแพร่กระจายจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้แค่เพียงการใช้ฮอร์โมน Enantone เพื่อยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน ประคับประคองอาการเท่านั้น, เนื่องจากฮอร์โมนเทสโตสเตอร์โรนจะไปกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
วิธีการรักษา (มีปัจจัยอยู่ 3 ตัว)
1.PSA : (4-10, >10-20, >20-50 และ >50)
สารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker)
(เจาะเลือดตรวจ)
2.Gleason score : (6-10, ช้า-เร็ว)
ความเร็วของการแพร่กระจายของมะเร็ง
ขึ้นกับประเภทของมะเร็ง
(เจาะชิ้นเนื้อตรวจ)
3.Stage : (T1-T4, น้อย-มาก)
ขอบเขตของมะเร็งต่อมลูกหมาก
(ตรวจได้จาก MRI)
T1 มะเร็งที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยภาพหรือ
นิ้วสัมผัสทางทวาร
T2 มะเร็งในต่อมที่สามารถเห็นได้ด้วยภาพ
หรือนิ้วสัมผัสทางทวาร
T3 มะเร็งโตนอกต่อมลูกหมากและอาจมี
อยู่ในถุงน้ำเชื้อ
T4 มะเร็งที่โตเกินกว่าในถุงน้ำเชื้อ
😨😨😨 การแบ่งระยะความเสี่ยงขึ้นกับ
ปัจจัยเสี่ยง หรือ Index ทั้ง 3 คือ
PSA, Gleason score และ clinical stage
Low-risk:
มีปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ปัจจัยต่อไปนี้
1. PSA ≤ 10 ng/mL และ
2. Gleason score ≤ 6 และ
3. clinical stage T1-T2a
1. PSA ≤ 10 ng/mL และ
2. Gleason score ≤ 6 และ
3. clinical stage T1-T2a
Intermediate-risk:
มีปัจจัยเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
PSA > 10 ng/mL หรือ
Gleason score 7 หรือ
Clinical stage T2b
PSA > 10 ng/mL หรือ
Gleason score 7 หรือ
Clinical stage T2b
High-risk :
มีปัจจัยเสี่ยง 2 จาก 3 ปัจจัยต่อไปนี้
PSA > 20 ng/mL
Gleason score ≥ 7
Clinical stage T2c-T3
PSA > 20 ng/mL
Gleason score ≥ 7
Clinical stage T2c-T3
😨 Riskที่ผมจะเป็นคือ :
ปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ปัจจัยของผมคือ
1. PSA = 31 ng/mL (High)
2. Gleason score = 6 (Low)
3. Clinical stage T2b (Intermediate)
1. PSA = 31 ng/mL (High)
2. Gleason score = 6 (Low)
3. Clinical stage T2b (Intermediate)
ดังนี้แล้วผมจะอยู่ใน Intermediate-risk ด้วยค่า psa มากกว่า 10 และ Clinical stage เท่ากับ T2b.
🤔 ผมเลือกวิธีฉายรังสีและฉีดฮอร์โมน
ถ้า Intermediate ฉีดฮอร์โมน Leuprorelin
DPS 11.25 mg (Enantone)
ทุก 3 เดือนไม่เกิน 2 ครั้ง(6 เดือน)
ถ้า High-risk ฉีดฮอร์โมนไม่เกิน 8 ครั้ง
🌺คุณหมอบอกให้ฉีดฮอร์โมน 12 ครั้ง
การฉายรังสี :
ก่อนการฉายรังสีผู้ป่วยต้องได้รับการวางแผนการฉายรังสีโดยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในท่าฉายรังสี โดยแพทย์จะนำภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์/MRI และผลชิ้นเนื้อมาเพื่อวางแผนในการรักษา เพื่อลดปริมาณรังสีต่ออวัยวะข้างเคียงและให้รังสีเพื่อทำลายมะเร็งในปริมาณสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันจึงใช้การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (Intensity modulated radiation therapy or IMRT) ร่วมกับใช้การเช็คตำแหน่งก่อนฉายแสง (Imaging Guided Radiation Therapy, IGRT) ระยะเวลาที่ใช้ในการฉายแสงแต่ละวันอยู่ที่ประมาณ 15-20 นาทีต่อวัน ฉายรังสีสัปดาห์ละ 5 วัน โดยการฉายรังสีแต่ละครั้งผู้ป่วยจะไม่มีการเจ็บปวดใดๆ
🙏🙏 ผู้ที่อยากป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการเลือกรับประทานอาหาร ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ นม หันมาทานผักและผลไม้แทน
ข้อดีของการตรวจ PSA
1.ช่วยทำให้ทราบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ก่อนที่จะมีอาการ โดยเฉพาะการตรวจค่า PSA เป็นประจำทุกปีเพื่อเปรียบเทียบกันจะทำให้วินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาได้เร็วขึ้น
2.ช่วยนำไปสู่การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจและสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของมะเร็ง หรืออย่างน้อยก็ทำให้มีการเฝ้าระวังต่อเนื่องและกำหนดจังหวะเข้ารักษาได้ทันท่วงที
3.ความเร็วในการเปลี่ยนค่า PSA (PSA velocity) โดยมีหลักทั่วไปว่า ค่า PSA ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเกินปีละ 0.75 ng/mL จะบ่งชี้ว่ามีแนวโน้มที่น่าจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
4.PSA สูงกว่าเกณฑ์ ก็แปลว่า มีความเสี่ยงที่อาจจะเป็นหรือกำลังเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก, ยิ่งสูงเปอร์เซ็นต์การเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็สูงตามไปด้วย
การตรวจระดับ PSA สูงกว่าปกติ
แพทย์และผู้ป่วยจะต้องมาร่วมกันตัดสินใจว่าจะเอายังไงต่อไป ระหว่างการรอไปก่อนโดยไม่ต้องทำอะไรที่รุนแรง เพียงแต่ติดตาม PSA และขนาดต่อมลูกหมากจากการตรวจทางทวารหนักและการตรวจอัลตราซาวด์ตามรอบการตรวจร่างกายประจำปีจนกว่าระดับ PSA จะเพิ่มสูงยิ่งขึ้น หรือต่อมลูกหมากโตขึ้นเรื่อย ๆ หรือมีอาการผิดปกติให้เห็นจึงค่อยเดินหน้าเจาะชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากออกมากตรวจ กับอีกทางคือ ไม่ต้องรอและเดินหน้าเจาะชิ้นเนื้อออกมาตรวจ ถ้าผลการตรวจพบว่าเป็นมะเร็งก็เดินหน้าทำการรักษาได้เลย
🤔🤔🤔ความคิดเห็นส่วนตัว
PSA เป็นปัจจัยแรกที่เราจะทราบจากการตรวจเจาะเลือดและค่า PSA ยิ่งสูงก็เสี่ยงสูง
ขอแนะนำ ถ้า PSA > 10 ng/mL คือความเสี่ยงปานกลางแล้ว ควรไปทำ MRI ที่ต่อมลูกหมากให้เป็นแนวทางในการเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากออกมาตรวจ, ทำให้เปอร์เซ็นต์การสุ่มตรวจเนื้อที่ที่จะเจาะได้ใกล้เคียงถูกต้อง
MRI : magnetic resonance imaging
จะบอกความน่าจะเป็นของมะเร็งเป็น 5 ระดับ
โดยจะเห็นภาพบนจอและในแผ่นฟิลม์
PI-RADS 1 : ต่ำมาก (ไม่น่าจะมีอยู่เลย)
PI-RADS 2 : ต่ำ (ไม่น่าเป็นมะเร็ง)
PI-RADS 3 : ระดับกลาง
PI-RADS 4 : สูง (น่าจะเป็นมะเร็ง)
PI-RADS 5 : สูงมาก (น่าจะเป็นมะเร็งแน่ๆ)
ซึ่งข้อมูลจาก MRI ใช้เป็นปัจจัยหา Clinical stage และใช้ในการฉายรังสีรักษา.
ภาพประกอบ:
วันรายงานผลตรวจ : 13 มีนาคม 2563
การเจาะชิ้นเนื้อ Biopsy
1. Right prostate gland จะเห็น
(Gleason score 3 + 3 = 6)
วันรายงานผลตรวจ : 11 เมษายน 2563
CT SCAN : ไม่พบการลุกลามของมะเร็งในอวัยวะส่วนกลาง เช่น กระเพาะปัสสาวะ, ถุงน้ำดี, ต่อมน้ำเหลือง, ท่อน้ำเชื้อ เป็นต้น
แนะนำให้ทำ MRI
วันรายงานผลตรวจ: 24 เมษายน 2563
Bone Scan : ไม่พบการลุกลามของมะเร็งในกระดูก
วันเริ่มทำการรักษา : 24 เมษายน 2563
ฉีดฮอร์โมน Enantone ขนาด 11.25 mg. ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งต่อมลูกหมาก
วันรายงานผลตรวจ : 08 พฤษภาคม 2563
MRI : มะเร็งพบที่ transition zone ขนาด 2.7 cm. PI-RADS 5 จัดอยู่ใน stage T2
วันทำการรังสีรักษา : 17 มิถุนายน 2563
การฉายรังสี IMRT
1. จำลองการรักษาด้วย CT-Simulation
เพื่อกำหนดจุดอ้างอิงและวางแผนในการรักษา
2. 24 มิถุนายน 2563 ใช้เครื่องจำลองเลื่อนตำแหน่งไปยังตำแหน่งที่จะรักษาจริง(Shift Isocenter) และเป็นวันแรกของการฉายรังสี
3. ทำการฉายรังสีทั้งหมด 39 ครั้ง
ฉายรังสี สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
พักสัปดาห์ละ 2 วัน
เพื่อให้เซลล์ที่ดีได้ปรับสภาพ
4. พบหมอทุกวันพุธพร้อมเจาะเลือดตรวจ CBC
5. พบหมอต่อมลูกหมากทุก 3 เดือน
ฉีดฮอร์โมน 12 ครั้ง เป็นเวลา 3 ปี
17 กรกฎาคม 2563 ค่า PSA = 0.8
ฉีดฮอร์โมนเข็มที่สอง
24 กันยายน 2563 พบหมอเพื่อติดตามหลังการฉายรังสีรักษา ที่โรงพยาบาล พระมงกุฎ ศูนย์รังสีรักษา
🌷วิวัฒน์สวัสดี...
แหล่งข้อมูล :